Ẃ e l c ờ м ع ▂▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █ ĭ'м -» я ά † τ α и α l ά κ ~c ћ ą η ى ϊ ľ α ρ ì и¸¸.•*´ Қừиgκάηğ`*•.¸¸

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

#4 รูปแบบการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณา













การอุปมาทางการเห็น (Visual Metaphor)
"สมองไหล ถ้าไม่ใส่หมวก"
















การใช้ภาพเหนือจริง (Surrealism)
"เยอะแค่ไหนก็ไหว"

















การสร้างความผิดปกติจากของจริง
(Violating Reality)
"คม"






















การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
(Morphing, Blending and Merging)
"คนกะรองเท้า.."

















การใช้มุมกล้องแทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย
(Subjective Camera)

"ออกมาได้ไง"















การล้อเลียน (Visual Parodies)
"ยาวไปมั๊ย ?"
















ภาพที่มีขนาดไม่ปกติ (Unusual Size)
"ถ่านใหญ่กว่ารถ"



#3 Search Entertainment

Search Entertainment

1. ชื่อเรื่อง ( Title )บริษัท Search Entertainment จำกัด

2. ข้อมูลเบื้องต้น ( Background )

ประวัติความเป็นมา
SEARCH ENTERTAINMENT เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2537 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก
1.0 ล้านบาท โดยมีคุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร และคุณจอนนี่ แอนโฟเน่ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ต่อมาภายหลัง ได้มีผู้เข้าร่วมลงทุนเพิ่มเติมคือ คุณธวัชชัย สัจจกุล, คุณจิระศักดิ์ สนธิวรชัย และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3.0 ล้านบาท และเพื่อเป็นการขยายงานธุรกิจ ด้านผลิตรายการโทรทัศน์, งาน Public Presentation ในปี 2547 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 28.0 ล้านบาท

การประกอบธุรกิจ
การผลิตรายการโทรทัศน์ โดยเน้นรายการประเภทวาไรตี้ รายการเพื่อเด็กและเยาวชน หรือรายการปกิณกะบันเทิง ซึ่งเป็นรายการที่รวบรวมความบันเทิง ในรูปแบบต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความสนใจในรสชาติของรายการแตกต่างกันไป เช่น การแสดงดนตรี สาระน่ารู้ การพูดคุย การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ของรายการประเภทนี้ จะครอบคลุมระดับอายุ เพศ วัย ที่ง่ายกว่ารายการประเภทอื่น เพราะเป็นรายการที่มีเนื้อหาสาระง่ายต่อการติดตาม และให้ความบันเทิงกับทุกเพศทุกวัย ซึ่งทางบริษัทฯ จะได้รายรับรายได้จากการขายโฆษณาคั่นในรายการ
รับจัดงาน Public Presentation รับจัดงานแสดงทุกรูปแบบ เช่น งานการประกวด งานเปิดตัวสินค้า การจัดคอนเสิร์ต งานด้านการรณรงค์ต่างๆ ทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งทางบริษัทฯ จะได้รับรายได้จาก
ค่าดำเนินงานดังกล่าว

กิจกรรมนอกเหนือจากการประกอบธุรกิจ
SEARCH ENTERTAINMENT เห็นความสำคัญของกิจกรรมเพื่อประโยชน์และสังคม ด้วยการตั้งทีมฟุตบอลรวมดารา 168 ชั่วโมง ขึ้นในปี 2541 มีประธานในการจัดตั้งคือ คุณธวัชชัย สัจจกุล, ผู้อำนวยการทีมคือ คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร, ผู้จัดการทีมคือ คุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ และคุณเสรี ชัยสงเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือโครงการต่อต้านยาเสพติด และโครงการการกุศลหารายได้ต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม และเยาวชนในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งสมาชิกในทีมส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ศิลปินดารานักแสดง นักร้อง ที่มีใจรักในกีฬาฟุตบอล และต้องการช่วยเหลือสังคม โดยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น

การเติบโตของ Search Entertainment Co.,Ltd.
SEARCH ENTERTAINMENT ได้ผลิตรายการโทรทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. ดังมีรายการต่อไปนี้

1.รายการ ร้อยเรื่องเครื่องประดับ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 08.30-09.00 น. ดำเนินรายการโดย
คุณจอนนี่ แอนโฟเน เมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งถือเป็นรายการแรกของการเปิดตัวบริษัท เซิร์ช เอ็นเตอร์
เทนเม้นท์ จำกัด (ยกเลิกรายการไปเมื่อปี พ.ศ. 2539)

2.รายการ GOOD MORNING FASHION ออกอากาศทุกอังคาร เวลา 08.30-09.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณจริยา แอนโฟเน เมื่อปี พ.ศ. 2537 ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อรายการเป็นรายการ MORNING TALK (ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2539)

3.รายการ MORNING TALK ออกอากาศทุกอังคาร เวลา 08.30-09.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณจริยา แอนโฟเน และคุณโหน่ง วสันต์ อุตมโยธิน (ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2540)

4.รายการ เอ็มยกกำลัง 3 ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 24.00-01.00 น. ดำเนินรายการโดย
คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร, คุณเทพ โพธิ์งาม และคุณโรเจอร์ พานิชกุล เมื่อต้นปี พ.ศ. 2540
(ยกเลิกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540)

5.รายการ โป๊ะแตก ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 17.00-17.30 น. ดำเนินรายการโดย คุณหนู เชิญยิ้ม
เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2541)

6.รายการ STAR SEARCH ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 08.30-09.00 น. ดำเนินรายการโดย
คุณหัทยา เกษสังข์ เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ยกเลิกเมื่อปี พ.ศ. 2542)

7.รายการ YOUR STYLE ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 12.15-12.20 น. เมื่อปี พ.ศ. 2538
ภายหลังย้ายเวลาออกอากาศมาเป็นช่วงเช้า เวลา 08.25-08.30 น. (ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2543)

8.รายการ TEEN SEARCH ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.25-08.30 น.
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2544 (ยกเลิกไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2544)

9.รายการ ใครคู่ใคร ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 23.30-24.00 น. ดำเนินรายการโดยคุณรวิชญ์ เทิดวงส์ เมื่อปี พ.ศ. 2545 (ยกเลิกไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2545)

10.รายการ NIGHT PET SHOW ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 23.30-24.00 น. ดำเนินรายการโดย
คุณรวิชญ์ เทิดวงส์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 (ยกเลิกไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2546)

11.รายการ ZIGO TIPS ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 17.30-17.35 น. ดำเนินรายการโดย
คุณซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 (ยกเลิกไปเมื่อเดือนมีนาคม 2547)

12.รายการ MAGIC WOMAN ออกอากาศทุกวันจันทร์ ?วันศุกร์ เวลา 08.30-08.35 น. ดำเนินรายการโดย คุณจอย รินลนี ศรีเพ็ญ (ยกเลิกไปเมื่อเดือนธันวาคม 2547)

13.รายการ 168 ช.ม. ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 24.00-01.30 น. ดำเนินรายการโดย
คุณจอนนี่ แอนโฟเน่, คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร, คุณวุฒินันท์ ภิรมย์ภักดี, คุณสมเกียรติ จันทร์พราหม,
คุณสุพจ พงษ์พรรณเจริญ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาได้เปลี่ยนพิธีกรจาก คุณสมเกียรติ และคุณสุพจน์ เป็นคุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ และย้ายเวลาออกอากาศเป็นทุกวันพุธ เวลา 24.00-01.00 น.
(ปัจจุบันรายการยังออกอากาศอยู่) และในเดือนมิถุนายน 2548 มี รายการเกี่ยว ออกอากาศอาทิตย์สุดท้ายในรายการ 168 ชั่วโมง ดำเนินรายการโดย คุณจอนนี่ แอนโฟเน และคุณโบว์ สุรัตนาวี
(ยกเลิกไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2548)

14.รายการ ซ่า เขย่าจอ (The Family) ชื่อเดิม 3 ซ่า Holiday ออกอากาศทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์
เวลา 15.30-16.30 น. ดำเนินรายการโดย คุณเทพ โพธิ์งาม, คุณจาตุรงค์ ม๊กจ๊ก, คุณจิ้ม ชวนชื่น
(ยกเลิกไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549)

15.รายการ 3 ซ่า คาเฟ่ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 16.00 -16.30 น. ดำเนินรายการโดยคุณเทพ โพธิ์งาม, คุณจตุรงค์ ม๊กจ๊ก และคุณจิ้ม ชวนชื่น (ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549)

16.รายการ HOT SHOT (ช็อตเด็ดคนดัง) ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 23.20-23.50 น. ดำเนินรายการโดย คุณโอ๋ ภัคจิรา วรรณสุทธิ์ (ปัจจุบันรายการยังออกอากาศอยู่)

17.รายการ STAR SPORTS ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 17.30-17.35 น. ดำเนินรายการโดยดารา/นักแสดงที่มีชื่อเสียงทั่วไป (ปัจจุบันรายการยังออกอากาศอยู่)

18.รายการ แก๊งกะจายเสียง ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 15.45-16.15 น. ดำเนินรายการโดย
น้องแน็ท, น้องโฟกัส และ น้องแจ๊ค (ยกเลิกไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547)

19.รายการ CONCERT คิดถึงแม่ ถ่ายทอดสดทุกวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งปี 49 นี้ เป็น ครั้งที่ 9
โดยนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้สภาสังคมสงเคราะห์ฯ เป็นประจำทุกปี

20.รายการคอนเสิร์ต TV3 สัญจร ออกอากาศเดือนละ 1 ครั้ง เวลา 23.30-01.00 น. ดำเนินรายการโดยคุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร และคุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ (ปัจจุบันรายการยังออกอากาศอยู่)

21.รายการช่อง 3 ลูกทุ่งซุปเปอร์ทัวร์ ออกอากาศเดือนละ 1 ครั้ง เวลา 15.00-16.00 น. ดำเนินรายการโดยคุณภุชงค์ โยธาพิทักษ์, คุณอิงคนันท์ มิตรกูล และคุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ (ปัจจุบันรายการยังออกอากาศอยู่)

22 รายการเด็ก เด็ด เด็ด ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 16.00-16.30 น. ดำเนินรายการโดยคุณเมจิ พิมพ์อักษิพร วินโกมินทร์

และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 Search Entertainment ได้รับความไว้วางใจจากทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. ให้ผลิต รายการวิทยุ 2 รายการ ทางคลื่นวิทยุ FM.89.0 เมกกะเฮิร์ต แฟชั่นเรดิโอ โดยใช้ชื่อรายการดังนี้
1 รายการ 168 ชั่วโมง (ภาควิทยุ) D.J. ดำเนินรายการโดยคุณจอนนี่ แอนโฟเน, คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร และคุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.30-24.00 น. (ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2542)

2 รายการ หมีโชว์ มี D.J. ดำเนินรายการโดย คุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ ทุกวันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา 23.00-24.00น. (ยกเลิกไปเมื่อปี 2542)

ปัจจุบัน SEARCH ENTERTAINMENT ได้รับความไว้วางใจจากทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ให้ผลิตรายการโทรทัศน์ และเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยทั่วไป
และเป็นศักยภาพของบริษัทฯ อันประกอบด้วยรายการ

1.รายการ 168 ชั่วโมง ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 24.00-01.00 น. ดำเนินรายการโดยคุณจอนนี่ แอนโฟเน่ คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร คุณวุฒินันท์ ภิรมย์ภักดี และคุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์

2.รายการ HOT SHOT ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 23.20-23.50 น. ดำเนินรายการโดย คุณโอ๋ ภัคจิรา

3.รายการ STAR SPORTS ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 17.30-17.35 น.

4.รายการ CONCERT TV 3 สัญจร ออกอากาศเดือนละ 1 ครั้ง เวลา 23.30- 01.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร, คุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ และผู้ประกาศข่าวช่อง 3 เวียนสลับกัน

5.รายการ CONCERT คิดถึงแม่ ถ่ายทอดสดทุกวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งปี 51นี้ เป็นครั้งที่ 11 โดยนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้สภาสังคมสงเคราะห์ฯ เป็นประจำทุกปี

6.รายการช่อง 3 ลูกทุ่งซุปเปอร์ทัวร์ ออกอากาศเดือนละ 1 ครั้ง เวลา 15.00-16.00 น.

7.รายการเด็ก เด็ด เด็ด ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 16.00 - 16.30 น.

ผลงานอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดงานด้าน PRESENTATION ต่างๆ ที่ผ่านมาเช่น การเปิดตัวของสินค้า GOLD MASTER, BODY GLOVE, เครื่องสำอางค์ RED EARTH, การจัดการประกวด MISS TEEN THAILAND, นาฬิกา TIMEX, โทรศัพท์มือถือ MAXON, การแข่งขันฟุตบอล ALL STARS & ทีมชาติไทย สนามกีฬาธูปเตย์มี, กิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้งของ กกต., กิจกรรมโครงการต่อต้านยาเสพย์ติด
เป็นต้น


วิเคราะห์ Swot

S= Strength มีกิจกรรมและรายการที่มีผู้คนติดตามอย่างต่อเนื่อง
W = Weakness เนื่องจากคนจะจำตัวกิจกรรมและรายการมากกว่าชื่อบริษัท
O = Opportunity พบปะกับผู้คนทั่วประเทศ จึงเป็นโอกาสง่ายที่คนจะรู้จัก
T = Threat คนไม่จดจำชื่อบริษัทหรือผู้ผลิต


3. วัตถุประสงค์

-เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ และรับจ้างจัดงาน Public Presentation

-เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ประชาชน


4. กลุ่มเป้าหมายหลัก

ด้านกายภาพ
- ชาย/หญิง
- โสด/สมรส
- ไม่จำกัดอายุ

ด้านจินตภาพ

-ผู้ชอบดูทีวีและฟังวิทยุ
-ผู้ที่ชื่นชอบความบันเทิงด้านต่างๆ


5. Concept
-หาความสุขมาเสิร์ฟถึงบ้านคุณ


6. Support
-เมื่อคุณได้รับชมรายการของ search entertainment คุณจะได้รับความสุขที่เราหามาเสิร์ฟให้ถึงหน้าจอทีวี


7. Mood & tone / Personality
เฮฮา/มีรอยยิ้ม/มีความสุข

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

#2 วิเคราะห์สื่อโฆษณา







• ชื่อเรื่อง (Title)
กล้องดิจิตอล Samsung LCD PL100

• ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T
โฆษณาชิ้นนี้เป็นโฆษณากล้องดิจิตอลของยี่ห้อ ซัมซุง เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด


ที่มีการถ่ายที่คมชัดเหมือนถ่ายใกล้ๆ มีหน้าจออยู่ด้านหน้าทำไงสามารถ

ถ่ายภาพตัวเองได้อย่างต้องการ

จุดแข็ง : แบรนด์เป็นที่รู้จักอย่ากว้างขวาง

จุดอ่อน : -

โอกาส : สินค้าที่ผลิตออกมาสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้

คุกคาม : มีคู่แข่งเยอะ สภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี

• วัตถุประสงค์ (Objective)

เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ชอบการถ่ายภาพ

• กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)
♥ เพศ หญิง/ชาย
♥ อายุ 18-50 ปี
♥ ประชาชนทั่วไปที่ต้องการถ่ายภาพ

• แนวความคิด (Concept)
กล้อง 2 จอถ่ายสนุกไม่หลุดกรอบ

• เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)

• อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)

• ผลตอบสนอง (Desired response)



วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

#1 แนวโน้มการนำเสนองานนิเทศศาสตร์

ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชิวิตของมนุษย์ ความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้หลายระบบ ไม่ว่าจะใช้ในลักษณะเครื่องเดียวโดยลำพัง หรือใช้งานเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความสามารถในการใช้สื่อต่างๆร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันนี้ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ผสานสื่อเหล่านี้ ได้แก่ ภาพ เสียง วีดิทัศน์ และอุปกรณ์ต่พ่วงอื่นๆได้อย่างดี ทำให้การประยุกต์ใช้งานได้กว้างขึ้น ระบบมัลติมีเดีย เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้การใช้งานเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่จำกัดแต่เพียงข้อความเพียงอย่างเดียวแต่มีการนำสื่อต่างๆมารวมกัน ซึ่งผลที่ได้คือ ความเป็นธรรมชาติ จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะนำมัลติมีเดียไปใช้ในงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแสดงข้อมูล การสื่อสาร การฝึกอบรม การเรียนการสอน หรือแม้แต่เพื่อความบันเทิง ซึ่งในการปฏิบัติต่อไปในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแทบทั้งสิ้น

มัลติมีเดียที่สมบูรณ์ควรจะต้องประกอบด้วยสื่อมากกว่า 2 สื่อตามองค์ประกอบ ดังนี้
• ตัวอักษร
• ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
• เสียง
• การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์
• วีดิทัศน์ เป็นต้น

โดยที่องค์ประกอบเหล่านี้มีความสำคัญต่อการออกแบบ ดังนี้
ตัวอักษร (Text)
ตัวอักษรถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญในการเขียนโปรแกรมมัลติมีเดีย โปรแกรมประยุกต์โดยมากมีตัวอักษรให้ผู้เขียนเลือกได้หลาย ๆ แบบ และสามารถที่จะเลือกสีของตัวอักษรได้ตามต้องการ นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรได้ตามต้องการ การโต้ตอบกับผู้ใช้ก็ยังนิยมใช้ตัวอักษร รวมถึงการใช้ตัวอักษรในการเชื่อโยงแบบปฏิสัมพันธ์ได้ เช่น การคลิกไปที่ตัวอักษรเพื่อเชื่อมโยงไปนำเสนอ เสียง ภาพกราฟิกหรือเล่นวีดิทัศน์ เป็นต้น
นอกจากนี้ตัวอักษรยังสามารถนำมาจัดเป็นลักษณะของเมนู (Menus) เพื่อให้ผู้ใช้เลือกข้อมูลที่จะศึกษาได้ โดยคลิกไปที่บริเวณกรอบสี่เหลี่ยมของมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์

ภาพนิ่ง (Still Images)
ภาพนิ่งเป็นภาพกราฟิกที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย หรือภาพวาด เป็นต้น ภาพนิ่งมีบทบาทสำคัญต่อมัลติมีเดียมาก ทั้งนี้เนื่องจากภาพจะให้ผลในเชิงของการเรียนรู้ด้วยการมองเห็น ไม่ว่าจะดูโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ จะมีภาพเป็นองค์ประกอบเสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า “ภาพหนึ่งภาพมีคุณค่าเท่ากับคำถึงพันคำ” ดังนั้นภาพนิ่งจึงมีบทบาทมากในการออกแบบมัลติมีเดียที่มีตัวอักษรและภาพนิ่งเป็น GUI (Graphical User Interface) ภาพนิ่งสามารถผลิตได้หลายวิธี อย่างเช่น การวาด (Drawing) การสแกนภาพ (Scanning) เป็นต้น

เสียง (Sound)
เสียงในมัลติมีเดียจะจัดเก็บอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิตอล และสามารถเล่นซ้ำ (Replay) ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี การใช้เสียงในมับติมีเดียก็เพื่อนำเสนอข้อมูล หรือสร้างสภาพแวดล้อมให้น่าสนใจยิ่งขึ้ เช่น เสียงน้ำหล เสียหัวใจเต้น เป็นต้น เสียงสามารถใช้เสริมตัวอักษรหรือนำเสนอวัสดุที่ปรากฏบนจอภาพได้เป็นอย่างดี เสียงที่ใช้ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์สามารถบันทึกเป็นข้อมูลแบบดิจิตอลจากไมโครโฟน แผ่นซีดี เสียง (CD-ROM Audio Disc) เทปเสียง และวิทยุ เป็นต้น

ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
ภาพเคลื่อนไหวจะหมายถึง การเคลื่อนไหวของภาพกราฟิก อาทิการเคลื่อนไหวของลูกสูบและวาล์วในระบบการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นภาพเคลื่อนไหว จึงมีขอบข่ายตั้งแต่การสร้างภาพด้วยกราฟิกอย่างง่าย พร้อมทั้งการเคลื่อนไหวกราฟิกนั้น จนถึงกราฟิกที่มีรายละเอียดแสดงการเคลื่อนไหวโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวในวงการธุรกิจ ก็มี Autodesk Animator ซึ่งมีคุณสมบัติดีทั้งในด้านของการออกแบบกราฟิกละเอียดสำหรับใช้ในมัลติมีเดียตามต้องการ

การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Links)
การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์จะหมายถึงการที่ผู้ใช้มับติมีเดียสามารถเลือกข้อมูลได้ตามต้องการ โดยใช้ตัวอักษรหรือปุ่มสำหรับตัวอักษรที่จะสามารถเชื่อมโยงได้จะเป็นตัวอักษรที่มีสีแตกต่างจากอักษรตัวอื่น ๆ ส่วนปุ่มก็จะมีลักษณะคล้ายกับปุ่มเพื่อชมภาพยนตร์ หรือคลิก ลงบนปุ่มเพื่อเข้าหาข้อมูลที่ต้องการ หรือเปลี่ยนหน้าต่างของข้อมูลต่อไป

วิดีทัศน์ (Video)
การใช้มัลติมีเดียในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการนำเอาภาพยนตร์วีดิทัศน์ ซึ่งอยู่ในรูปของดิจิตอลรวมเข้าไปกับประแกรมประยุกต์ที่เขียนขึ้น โดยทั่วไปของวีดิทัศน์จะนำเสนอด้วยเวลาจริงที่จำนวน 30 ภาพต่อวินาที ในลักษณะนี้จะเรียกว่าวีดิทัศน์ดิจิตอล (Digital Video) คุณภาพของวีดิทัศน์ดิจิตอลจะทัดเทียมกับคุณภาพที่เห็นจากจอโทรทัศน์ ดังนั้นทั้งวีดิทัศน์ ดิจิตอลและเสียงจึงเป็นส่วนที่ผนวกเข้าไปสู่การนำเสนอได้ทันทีด้วยจอคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เสียงสามารถเล่นออกไปยังลำโพงภายนอกได้โดยผ่านการ์ดเสียง (Sound Card)

รูปแบบของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทางการศึกษา

1. คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียนำเสนอบทเรียน (Computer Multimedia Presentation) โดยผู้สอนเป็นผู้ใช้อย่างเดียวในการนำเสนอเนื้อหาของบทเรียนพร้อมประกอบด้วยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือเสียงประกอบ รวมทั้งมีการอธิบายโดยผู้สอนในรายละเอียดของเนื้อหา

2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI (Computer Assisted Instruction)
ส่วนใหญ่มักจะจัดทำเน้นไปทางการเรียนด้วยตนเองมากโดยผู้เรียนเป็นคนใช้โดยออกแบบวิธีการเสนอเนื้อหาบทเรียน (Instructional (Design) ให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ใช้เทคนิคของการเสริมแรง (Reinforcement) และหลักการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) และหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้โดยเฉพาะกระบวนการของจิตวิทยา Cognitive psychology ที่เน้นกระบวนการคิดและใช้วิธีการวิเคราะห์การเรียนรู้ข่าวสารของมนุษย์นำมาใช้ประกอบกันอย่างเป็นระบบ (System)

3. หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Textbook)
เป็นการจัดทำเนื้อหาในตำราและหนังสือเรียนให้อยู่ในรูปของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย โดยมีรายละเอียดด้านเนื้อหารูปภาพเหมือนหนังสือทั่วไป โดยอาจมีภาพเคลื่อนไหว และเสียงรวมทั้ง ไฮเปอร์เท็กซ์เข้ามาประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้มีสีสันรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้น

4. หนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Reference)
เป็นการจัดทำหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น เอ็นไซโคลพีเดีย, ดิกชันนารี, นามานุกรม, วารสารที่ออกเป็นชุด ฯลฯ ให้อยู่ในรูปของซอฟต์แวร์มัลติมีเดีย โดยมีรายละเอียดการจัดทำเหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบการนำเสนอมัลติมีเดีย
โรเซนเบอร์กและคณะได้นำเสนอรูปแบบของมัลติมีเดียสำหรับออกแบบระบบงานมัลติมีเดียทั่วๆไป เพื่อใช้ในการเรียนและใช้งานทั่วไปจำนวน 5 รูปแบบได้แก่
1.แบบเชิงเส้น(Linear Progression)
2.แบบอิสระ(Perform Hyper jumping)
3.แบบวงกลม(Circular Paths)
4.แบบฐานข้อมูล(Database)
5.แบบผสม(Compound)

แบบเชิงเส้น (Linear Progression)
รูปแบบนี้คล้ายกับการนำเสนอหน้าหนังสือ แต่ละเฟรมจะเรียงลำดับกันไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนถึงเฟรมสุดท้าย การเข้าถึงระบบงานมัลติมีเดียรูปแบบนี้จึงเหมือนกับการนำเสนอไฮเปอร์เท็กซ์แบบ Guide Tour ที่ใช้ข้อความเป็นหลักในการดำเนินเรื่อง แต่ก็สามารถใส่เสียง ภาพวีดิทัศน์หรือภาพเคลื่อนไหวลงไปได้ เรียกรูปแบบนี้อีกอย่างหนึ่งว่า Electronic Stories

แบบอิสระ (Perform Hyper umpping)
รูปแบบนี้ ผู้ใช้มีสิทธิ์ในการข้ามไปมาระหว่างเฟรมใดเฟรมหนึ่งได้อย่างอิสระ ซึ่งช่วยกระตุ้นความสนใจจากผู้ใช้ให้ติดตามระบบงานมัลติมีเดียกระตุ้น ผู้ออกแบบที่ยึดโครงสร้างตามรูปแบบนี้จะต้องระมัดระวังการข้ามไปมา ซึ่งเป็นจุดอ่อนประการสำคัญเพราะทำให้เกิดการหลงทาง
รูปแบบอิสระเหมาะกับรูปแบบที่สัมพันธ์กัน ผู้ออกแบบต้องวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดก่อนที่นำเสนอ

แบบวงกลม (Circular Paths)
การนำเสนอแบบวงกลม ประกอบด้วยแบบเส้นตรงชุดเล็กๆหลายๆชุด เชื่อมต่อกันเป็นชุดใหญ่ เหมาะกับข้อมูลที่สัมพันธ์กันในแต่ละส่วนย่อย

แบบฐานข้อมูล (Database)
รูปแบบการนำเสนอนี้ ใช้หลักการของฐานข้อมูลมาใช้ ต้องการพัฒนาเตรื่องมือค้นหาข้อมูลป้อนดัชนีเข้าไปในฐานข้อมูล

แบบผสม (Compound)
เป็นรูปแบบที่นำเอาจุดเด่นของแต่ละรูปแบบมาผสมผสานกันขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบระบบงานมัลติมีเดียว่าจะยึดรูปแบบใดเป็น โครงสร้างหลัก และรูปแบบใดเป็นโครงสร้างรอง

ขอบเขตของมัลติมีเดีย
• ด้านอุปกรณ์
• ด้านระบบ
• ด้านการประยุกต์ใช้งาน
• ด้านการเชื่อมโยง
ดังนั้นแนวโน้มของการนำเสนองานนิเทศศาสตร์ มีแนวโน้มที่จะใช้มัลติมีเดียเป็นอุปกรณ์ในการผลิตสื่อเพื่อนำเสนอผลงาน

ตัวอย่างสื่อมัลติมีเดีย